Skip to main content

รีวิว CU-TEP ปี 2018

รีวิว CU-TEP ฉบับ 2018
- CU-TEP มีข้อสอบ 3 ชุดทั้งหมด คือ Listening 30 ข้อ 30 นาที, Reading 60 ข้อ 70 นาที และ Writing 30 ข้อ 30 นาที สอบตั้งแต่ 8.30 - 11.30 พอหมดเวลา จะทำการเปลี่ยนชุดข้อสอบทันที ดังนั้นหากทำไม่ทัน ก็คือพลาดข้อเหล่านั้นไปเลย เวลาจะให้มากระชั้นมากกกกก ต้องรีบคิด รีบตอบ !

- กติกาการเข้าห้องสอบเหมือนเดิม คือ ชุดสุภาพมาสถานที่ราชการ คอปก (ห้ามเสื้อยืด) กระโปรงคลุมหัวเข่า กางเกงคลุมข้อเท้า (ห้ามกางเกงสี่หรือห้าส่วน) รองเท้ารัดส้นและไม่เห็นนิ้วเท้า (ห้ามรองเท้าที่เป็นพลาสติกสานกันแบบ crog) หากทำผิดกฏ ผู้เข้าสอบจะไม่อนุญาตให้เข้าห้องสอบโดยเด็ดขาด เอาแต่บัตรประชาชนเข้าห้องสอบ ไม่ต้องเอาดินสอปากกามา และไม่อนุญาตให้เข้าห้องน้ำระหว่างการสอบ อ้อ ตรวจสอบชื่อและนามสกุลให้ตรงตามในบัตร มิฉะนั้นจะไม่ได้เข้าห้องสอบนะ

- หนังสือที่แนะนำมี 2 เล่ม เพราะซื้อแค่นี้
- เล่ม CU-TEP เตรียมสอบ สีชมพู ของ TGRE ราคา 440 บาท ซื้อมาตั้งแต่ 3 ปีก่อน เนื้อหาเหมือนเดิม ข้อดีคือมีการย่อยประเด็นในแต่ละข้อสอบให้ เช่น บท reading จะแบ่งออกเป็น main topic, inference, matching, ordering, pictorial เป็นต้น มี CD ให้ด้วยแต่ไม่ได้เปิดฟัง มีแบบทดสอบกับตัวอย่างให้ดู แต่ข้อเสียคือ โจทย์มีจำนวนน้อยและง่ายกว่าข้อสอบจริง ส่วนตัวไม่ค่อยชอบเล่มนี้

- เล่ม CU-TEP Anchor สีเขียว เล่มใหม่ ของ TGRE ราคา 420 บาท เล่มนี้ดี มีรวมข้อสอบ 6 ชุดพร้อมเฉลยในตัว ทั้งหมด 600 ข้อ ซึ่งโจทย์มีความท้าทาย เอาไว้ฝึกทำได้ดี คำศัพท์ยากในระดับใช้ได้ และเป็นศัพท์ที่พบบ่อยในข้อสอบ แทบจะไม่ได้อ่าน Listening เลย Writing ข้อสอบมีบางส่วนที่อ่านแล้วงงบ้าง แต่โดยรวมไม่ยากมาก ไม่จำเป็นต้องเข้าใจบทความก็ได้ แค่รู้ว่า Grammar ควรใช้แบบไหนก็พอ ใช้วิธีตัดชอยส์เอา แต่ส่วน Reading ดีมาก เพราะถ้าไปวิเคราะห์คำตอบจะพอเห็นแนวทางว่าโจทย์ควรตอบประมาณนี้ ส่วนตัวคิดว่า Reading มีคะแนนเยอะที่สุด 60 คะแนน (เท่ากับ Listening + Writing) แต่ก็ยากสุด ดังนั้นจึง ควรเก็บคะแนนในส่วนนี้เมื่อโอเคกับ Listening และ Writing แล้ว ต้องอาศัยฝึกอ่านจับใจความเท่านั้น และตะลุยโจทย์เยอะๆ เวลาทำข้อสอบให้อ่านคำถามก่อน แล้วค่อยไปอ่านบทความ เราจะได้รู้ว่าจะต้องโฟกัสที่จุดไหน ส่วนถ้ามีข้อที่ให้คำสีเข้มมาแล้วเลือกคำศัพท์ที่มีความหมายใกล้เคียง ก็ให้ทำข้อนั้นเลยทันที ไม่ต้องรอให้อ่านจบทั้งหมด

- ด้วยความที่หนังสือเล่มหนาและหนัก เลยจัดการสแกนโจทย์ด้วย ipad แล้วแปลงเป็น pdf ซะเลย ก็ทำให้มีเวลาทำโจทย์มากขึ้นเวลาออกไปนอกบ้าน (แต่ไม่ได้เอาไฟล์ไปปล่อยลงอินเตอร์เน็ทนะ)

- วันสุดท้ายก่อนสอบ ไม่ต้องเสียเวลาทำโจทย์ นั่งท่องคำศัพท์ยากๆ ที่น่าจะออกสอบไปเลย และทำความรู้จัก thesaurus ของมัน เพราะ Reading จะออก thesaurus เยอะ และมักออกคำศัพท์ที่เราไม่คุ้นเคยในชีวิตประจำวัน ถ้าไม่รู้ว่าจะไปอ่านคำศัพท์ที่ไหน ให้เสิร์ช google "คำศัพท์ใน CU-TEP" เดี๋ยวมันก็ขึ้นมาเอง ถ้าหาไม่เจออีก ก็เสิร์ชพวก "IELTS, SAT" ก็จะได้ฐานคำศัพท์ที่ใกล้เคียงกันพอสมควร

- ในวันที่สอบ ต้องมี "สติ" เพราะเวลาจะน้อยมากกกก ทำแทบไม่ทัน เพราะพอเวลาหมดปุ๊บ เจ้าหน้าที่จะเก็บข้อสอบส่วนโจทย์ทันที Listening กับ Writing ทำได้เฉียดฉิวเวลา ส่วน Reading ทำไม่ทันประมาณ 4-5 ข้อ (กามั่วเลย)

- สรุปว่า ส่วนที่ง่ายสุดคือ Listening --> Writing --> Reading ถ้าให้แนะนำคือ เก็บคะแนนส่วนง่ายก่อน Listening คือแล้วแต่บุคคล ส่วน Writing ก็ฝึกทำโจทย์ ให้จดจำ pattern ประโยคให้ขึ้นใจ และส่วน Reading ก็ต้องฝึกอ่านจับใจความ ท่องจำศัพท์ให้มากขึ้น

Comments

Popular posts from this blog

Lactic Acidosis

Lactic Acidosis  - Lactic Aciosis เกิดขึ้นจาก imbalance of lactate production สร้างเยอะ vs utilization ใช้น้อย - Lactate เป็นผลิตผลจาก anaerobic respitation ในการที่ร่างกายจะสร้าง ATP มาใช้เป็นพลังงาน ในกระบวนการสร้าง lactate จะมีสารตั้งต้นคือ pyruvate + NADH ซึ่งจะใช้ enzyme Lactate dehydrogenase (LDH) เพื่อเปลี่ยน pyruvate ไปเป็น lactate + NAD ดังนั้นหากว่ามี pyruvate/NADH เยอะจนเกินไป ก็ทำให้ lactate ถูกสร้างมากขึ้นได้เช่นกัน ต่อจากนั้น ร่างกายจะสามารถใช้ lactate ไปเป็นพลังงานได้ โดยการเปลี่ยน lactate ไปเป็น acetyl-CoA โดยใช้เอนไซม์ pyruvate dehydrogenase (PDH) [ซึ่ง PDH มี thiamine เป็น co-enzyme ดังนั้นเราจะเห็นว่า ในคนที่มี thiamine deficiency ก็จะเกิด lactic acidosis ได้เช่นกัน] ประเภทของ Lactate  - มี 2 ประเภทหลัก แบ่งตาม Cohen & Wood Classification 1. Type A : Inadequate Tissue O2 Delivery เป็น lactic acidosis ที่พบบ่อยสุด เกิดจาก 3 ส่วนคือ         1. Anaerobic Muscular Activity เช่นการชักทำให้เกิด muscular hyperactivity + hypoxia ได้      

Doctor Heli ของโอซาก้า ญี่ปุ่น

Osaka-HEMS / Doctor Heli เริ่มปฏิบัติการตั้งแต่ มกราคม 2008 มีทั้งหมด 52 HEMS ในญี่ปุ่น โดยมีเป้าหมายอยู่ 3 ข้อคือ 1) Advanced Life Support in the field เอาหมอไปรักษาที่ scene 2) Transport to medical faculty 3) Disaster Response - เฮลิคอปเตอร์สามารถบินด้วยความเร็ว 200 km/hr ดังนั้นสามารถบินไปเกียวโตภายใน 10-15 นาที ออกรับผู้ป่วยประมาณ 150 ราย ต่อเดือนและปฏิบัติการตั้งแต่ 8.30 จนพระอาทิตย์ตกดินเท่านั้น โดยมีหมอ 1 คน พยาบาล 1 คน  - วิธีการ activate team HEMS คือผู้ป่วยโทร 119 (เหมือน 1669) แต่จะไปติดที่สถานีดับเพลิง แล้ว เจ้าหน้าที่ดับเพลิงจะไปที่ scene เพื่อประเมิน ถ้าประเมินแล้วดูดีก็นำส่งโดยรถ ambulance ได้ แต่ถ้าอาการไม่ดี ก็จะติดต่อขอ Doctor Heli โดยทันที โดย activation time เอาที่น้อยกว่า 5 นาที เขาจะมีจุด landing ทั่วโอซาก้าประมาณ 680 จุดเตรียมไว้ก่อน - ค่าใช้จ่ายของ Doctor Heli คือฟรีจ้าาา (เหมือนค่า ambulance) แต่ค่ารักษาที่โรงพยาบาลผู้ป่วยต้องชำระเอง ค่าใช้จ่ายในการวางระบบ HEMS ตกอยู่ที่ 210 ล้านเยนต่อ 1 service ต่อ 1 ปี