Skip to main content

Department of Traumatology and Acute Critical Medicine ของ Osaka University Hospital

รีวิว Department of Traumatology and Acute Critical Medicine, Osaka University Hospital Version 2

- สำหรับระบบประกันสุขภาพที่ญี่ปุ่น ประชากรทุกคนต้องจ่ายค่ารักษาเป็น % ของรายได้คล้ายภาษี เมื่อป่วยก็จะสามารถเบิกได้ฟรี 70% ส่วนอีก 30% เป็น co-pay ซึ่งทุกคนในญี่ปุ่นต้องจ่าย ดังนั้นหมอจึงทำทุกอย่างเต็มที่จัดเต็มหมด คนไข้ถูกแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละโรงพยาบาลว่าจะสามารถรับคนไข้ประเภทใดได้บ้าง โดย osaka university hospital รับแต่คนไข้ระดับ 3 (หนักสุด)ที่เดินทางมาด้วยรถพยาบาลหรือเฮลิคอปเตอร์เท่านั้น

- ถ้าไม่หนักมาก เช่นระดับ 1 หรือ 2 ชาวญี่ปุ่นมีทางเลือก 2 ทางคือ 1. ไปโรงพยาบาล แต่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่ม ซึ่งเงินในส่วนนี้จะเบิกไม่ได้ 2. ไปคลินิกแทน

- เคสมาใหม่ก็รับแต่คนที่หนักคู่ควรอีอาเท่านั้น และได้รับการ triage โดย paramedic เช่น arrest, septic shock, stroke, stemi, severe trauma, inhalation injury เป็นต้น

- และแผนกนี้จะไม่ consult ภาคอื่น คือเก็บคนไข้ไว้ดูเองจน discharge เพราะในภาควิชามี general surgeon, orthopedist, neurosurgeon ในวอร์ดดูแลคนไข้ 17 เตียง เคส tube 8-10 เตียง บางคนอยู่นานประมาณ 2 อาทิตย์ ทำได้ทุกอย่างและเป็นทุกอย่างให้เธอแล้วววว ตั้งแต่ hemodialysis, bedside bronchoscope, BAL, EGD, hypothermia, ecmo, monitor ICP CPP ที่พี้คสุดคือ เซนเซย์ให้เป็น 1st hand assist bedside tracheostomy จร้าาา เป็น routine protocol ของที่นี่จ้ะ เด้นสองทำเองเรย ก็กรีด จี้ suction ข้างเตียงกันไปจร้าา sedate ด้วย propofol เบาๆ ก่อนหน้านี้เซนเซย์ก็ทำ emergency surgical cricothyrodotomy แบบชิลๆ ด้วยจ้า

- นอกจากนี้ สำหรับ investigation ทางภาคมีเครื่อง CT เป็นของตัวเอง อยากทำอะไร ก็ทำ! ส่งได้ทุกส่วนที่สงสัย และถ้ายังไม่หายข้องใจก็จัด MRI ต่อได้เลย

- ในส่วนของ OR คือ อยู่ติดกับห้อง CT เลย ซึ่งศักยภาพดาเมจรุนแรงมาก ทำได้ทุกอย่างตั้งแต่ explore lap, embolization, PCI 

- จำนวนคนไข้... เวรเช้ารับคนไข้ใหม่ประมาณ 1-3 คน ซึ่งน้อยมากกกกก มี junior doctor (intern) 1-2 คน มีเด้น 2-3 คน และมี staff 5-8 คนตอนเช้า คนเยอะมากกกกก คนนึงดูแลคนไข้ประมาณ 2 คนได้ และวัฒนธรรมที่ปลื้มมากคือ ทุกคนทำงาน ไม่มีการอู้ staff ก็ไปเจาะ hemoculture, present case ใน morning และพิมพ์ discharge summary เองจ้า บรรยากาศการทำงานดีมาก ทุกคนช่วยกันและอยู่พร้อมหน้ากันตลอดเวร อ้อ เขาแบ่งเวรเป็นเช้า 8.30-17.30 และเวรดึก 17.30-8.30 

- กิจกรรมในตอนเช้าคือ morning report 8.30-10.00 หมอเจ้าของไข้ต้องเล่าเคสและ progress ให้ทุกคนฟัง แล้วเซ็นเซย์คนอื่นก็ช่วย discuss ซึ่งระบบทุกอย่างที่ญี่ปุ่นอยู่ในคอมพิวเตอร์ เป็นแบบ paperless ดังนั้นสามารถเปิดคอมดู vital signs, progress note, lab, film, รูปแผลผู้ป่วย หรือแผลผ่าตัดในโออาก็ดูได้ผ่านทาง projector  จากนั้นทุกคนจะราวและแยกย้ายไปทำ ward work ส่งเวรตอน 17.30 ใช้เวลาเล่าทุกเคสประมาณ 1 ชั่วโมง

- ดังนั้น Department of Traumatology and Acute Critical Medicine จึงเป็นความผสมระหว่าง ER (เคสคุณค่าที่คุณคู่ควร) และ ICU med + sx มันจึงเป็นภาควิชาที่ดูคนไข้ critical care ได้ประเสริฐมาก investigate เร็ว มี staff ที่เป็นคนตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา ไม่ต้องคุยกันผ่าน resident และมีความ independent สูง ไม่ต้องพึ่งหรือง้อแผนกอื่น 

- สุดท้าย ถามว่าระบบแบบนี้มันดีไหม? ในฐานะที่เรียนอีอาก็คิดว่า การได้ definite diagnosis ที่รวดเร็วเป็นสิ่งที่ดี เค้ามี concept ว่าเคส trauma ไม่มีทางได้ประวัติครบอยู่แล้ว บางเคสก็ไม่ตรงไปตรงมา มี injury ซ่อนอยู่เยอะ ดังนั้นจับ CT whole body ไปเลย ส่วนในเคส med เค้าก็เลือกทำ ct เฉพาะส่วนนะ แต่ถ้าอาการหนักมาก ก็จับ whole body เหมือนกัน ดังนั้นความที่ เคสน้อย หมอเยอะ มี ct เป็นของตัวเอง ก็จับคนไข้ resuscitate บนเตียง ct และไปให้สุดไปเลย ที่นี่สามารถ definite treatment ได้เร็วมาก จึงเป็นผลดีกับคนไข้ และที่นี่รับแต่เคสหนัก ดังนั้นการลงทุนกับสิ่งเหล่านี้มันคุ้มกับ outcome + prognosis คนไข้มากๆ ข้อเสียคือ ที่นี่ซักประวัติไม่เยอะเท่าเรา เน้น investigation เป็นหลัก เลยไม่มั่นใจว่าเค้ามีแนวคิดการ approach เคสยังไงเพราะฟังไม่ออก 555 มีโอกาสเกิด contrast induced nephropathy สูง expose radiation ค่าใช้จ่ายสูง ไม่คุ้มกับเคสเบาๆ 

Comments

Popular posts from this blog

รีวิว CU-TEP ปี 2018

รีวิว CU-TEP ฉบับ 2018 - CU-TEP มีข้อสอบ 3 ชุดทั้งหมด คือ Listening 30 ข้อ 30 นาที, Reading 60 ข้อ 70 นาที และ Writing 30 ข้อ 30 นาที สอบตั้งแต่ 8.30 - 11.30 พอหมดเวลา จะทำการเปลี่ยนชุดข้อสอบทันที ดังนั้นหากทำไม่ทัน ก็คือพลาดข้อเหล่านั้นไปเลย เวลาจะให้มากระชั้นมากกกกก ต้องรีบคิด รีบตอบ ! - กติกาการเข้าห้องสอบเหมือนเดิม คือ ชุดสุภาพมาสถานที่ราชการ คอปก (ห้ามเสื้อยืด) กระโปรงคลุมหัวเข่า กางเกงคลุมข้อเท้า (ห้ามกางเกงสี่หรือห้าส่วน) รองเท้ารัดส้นและไม่เห็นนิ้วเท้า (ห้ามรองเท้าที่เป็นพลาสติกสานกันแบบ crog) หากทำผิดกฏ ผู้เข้าสอบจะไม่อนุญาตให้เข้าห้องสอบโดยเด็ดขาด เอาแต่บัตรประชาชนเข้าห้องสอบ ไม่ต้องเอาดินสอปากกามา และไม่อนุญาตให้เข้าห้องน้ำระหว่างการสอบ อ้อ ตรวจสอบชื่อและนามสกุลให้ตรงตามในบัตร มิฉะนั้นจะไม่ได้เข้าห้องสอบนะ - หนังสือที่แนะนำมี 2 เล่ม เพราะซื้อแค่นี้ - เล่ม CU-TEP เตรียมสอบ สีชมพู ของ TGRE ราคา 440 บาท ซื้อมาตั้งแต่ 3 ปีก่อน เนื้อหาเหมือนเดิม ข้อดีคือมีการย่อยประเด็นในแต่ละข้อสอบให้ เช่น บท reading จะแบ่งออกเป็น main topic, inference, matching, ordering, pictorial เป็นต้น มี C

Lactic Acidosis

Lactic Acidosis  - Lactic Aciosis เกิดขึ้นจาก imbalance of lactate production สร้างเยอะ vs utilization ใช้น้อย - Lactate เป็นผลิตผลจาก anaerobic respitation ในการที่ร่างกายจะสร้าง ATP มาใช้เป็นพลังงาน ในกระบวนการสร้าง lactate จะมีสารตั้งต้นคือ pyruvate + NADH ซึ่งจะใช้ enzyme Lactate dehydrogenase (LDH) เพื่อเปลี่ยน pyruvate ไปเป็น lactate + NAD ดังนั้นหากว่ามี pyruvate/NADH เยอะจนเกินไป ก็ทำให้ lactate ถูกสร้างมากขึ้นได้เช่นกัน ต่อจากนั้น ร่างกายจะสามารถใช้ lactate ไปเป็นพลังงานได้ โดยการเปลี่ยน lactate ไปเป็น acetyl-CoA โดยใช้เอนไซม์ pyruvate dehydrogenase (PDH) [ซึ่ง PDH มี thiamine เป็น co-enzyme ดังนั้นเราจะเห็นว่า ในคนที่มี thiamine deficiency ก็จะเกิด lactic acidosis ได้เช่นกัน] ประเภทของ Lactate  - มี 2 ประเภทหลัก แบ่งตาม Cohen & Wood Classification 1. Type A : Inadequate Tissue O2 Delivery เป็น lactic acidosis ที่พบบ่อยสุด เกิดจาก 3 ส่วนคือ         1. Anaerobic Muscular Activity เช่นการชักทำให้เกิด muscular hyperactivity + hypoxia ได้      

Doctor Heli ของโอซาก้า ญี่ปุ่น

Osaka-HEMS / Doctor Heli เริ่มปฏิบัติการตั้งแต่ มกราคม 2008 มีทั้งหมด 52 HEMS ในญี่ปุ่น โดยมีเป้าหมายอยู่ 3 ข้อคือ 1) Advanced Life Support in the field เอาหมอไปรักษาที่ scene 2) Transport to medical faculty 3) Disaster Response - เฮลิคอปเตอร์สามารถบินด้วยความเร็ว 200 km/hr ดังนั้นสามารถบินไปเกียวโตภายใน 10-15 นาที ออกรับผู้ป่วยประมาณ 150 ราย ต่อเดือนและปฏิบัติการตั้งแต่ 8.30 จนพระอาทิตย์ตกดินเท่านั้น โดยมีหมอ 1 คน พยาบาล 1 คน  - วิธีการ activate team HEMS คือผู้ป่วยโทร 119 (เหมือน 1669) แต่จะไปติดที่สถานีดับเพลิง แล้ว เจ้าหน้าที่ดับเพลิงจะไปที่ scene เพื่อประเมิน ถ้าประเมินแล้วดูดีก็นำส่งโดยรถ ambulance ได้ แต่ถ้าอาการไม่ดี ก็จะติดต่อขอ Doctor Heli โดยทันที โดย activation time เอาที่น้อยกว่า 5 นาที เขาจะมีจุด landing ทั่วโอซาก้าประมาณ 680 จุดเตรียมไว้ก่อน - ค่าใช้จ่ายของ Doctor Heli คือฟรีจ้าาา (เหมือนค่า ambulance) แต่ค่ารักษาที่โรงพยาบาลผู้ป่วยต้องชำระเอง ค่าใช้จ่ายในการวางระบบ HEMS ตกอยู่ที่ 210 ล้านเยนต่อ 1 service ต่อ 1 ปี