Skip to main content

ระบบ EMS ของประเทศญี่ปุ่น

รีวิวระบบ EMS ของญี่ปุ่น

ระบบ Emergency Medical Service ของญี่ปุ่นแตกต่างจากไทยอย่างสิ้นเชิงงงงงง แต่มันดีย์ มันเป็นระบบที่เลิศสำหรับหมอมากกก ก่อนอื่นต้องเกริ่นก่อนว่า โรงพยาบาลส่วนใหญ่ที่ญี่ปุ่นเปิดเฉพาะจันทร์ถึงศุกร์ในเวลาราชการเท่านั้น ภาควิชาที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมงคือER เท่านั้นจ้า ส่วนภาคอื่นปิดหมด เคยไปรพ. ผิดวัน คือเป็นวันหยุดราชการ มันก็คือรพ. ร้างดีๆ นี่เอง ไม่มีคนเลยยยยย 

ทีนี้เวลาคนญี่ปุ่นป่วยจะทำไง? ก็โทร 119 เบอร์เดียว ซึ่งมันจะไปติดที่สำนักงานสถานีดับเพลิงกลางในแต่ละเมือง เพราะระบบที่นี่คือ รวมงานดับเพลิงกับ paramedic เป็นหน่วยงานเดียวกัน 

สำหรับ Osaka Munipical Fire Department จะดูแลประชากร 2.7 ล้านคน ในพื้นที่ 225 ตารางกิโลเมตร มีรถพยาบาลทั้งหมด 63 คัน และมี ambulance personnel 630 คน ปฏิบัติงาน 230,000 mission ต่อปี

เมื่อมีสายเข้ามา ก็จะมีระบบ call taker 3 ระดับ คือ 

1. Screening โดยแยก medical กับ non-medical reason ออกจากกัน เช่นบางคนแค่อยากรู้ว่า รพ ไหนเปิดในวันหยุดบ้าง เจ้าหน้าที่ก็จะให้ข้อมูลไป เค้าบอกว่า รับโทรศัพท์ 900-1200 สายต่อวันจ้า 

2. Nurse Screening ให้พยายาลมานั่งรับโทรศัพท์ และเป็นคนตัดสินใจว่า ผู้ป่วยควรมารพ. หรือไม่ เช่นเป็นไข้หวัดก็ดูแลตัวเองไปก่อนนาจา หรือแนะนำให้มาในเวลาราชการแทน ถ้าพยาบาลตัดสินใจไม่ได้ก็จะส่งต่อให้หมอคุยแทน

3. Ambulance Dispatch Center เมื่อพยาบาลหรือหมอพิจารณาว่าผู้ป่วยควรไปโรงพยาบาล เค้าก็จะโอนสายไปที่ Ambulance Call Taker ซึ่งจะส่งรถ ambulance ไปที่ scene as soon as possible เค้าไม่มีเกณฑ์ activation time แบบบ้านเรา แต่ส่วนใหญ่รถพยาบาลถึงผู้ป่วยได้ใน 5 นาที

นอกจากนี้ ในห้อง Ambulance Dispatch Center จะเป็นห้องใหญ่เหมือนตลาดหลักทรัพย์ บนจอยักษ์จะแสดงผลว่า มีคนโทรมากี่สาย รถพยาบาลไปทำภารกิจกี่ครั้ง ตอนนี้มีรถกี่คัน รถแต่ละคันอยู่ที่ไหน มีแผนที่บอกตำแหน่งรถ และสถานะของผู้ป่วย นอกจากนี้ ที่นี่ติดกล้องที่ตึก Abeno Haruka ซึ่งเป็นตึกที่สูงที่สุดในโอซาก้า กล้องนี้จะถ่ายและแพนตลอดเวลา และซูมได้ไกลมากกกกกกก ถ้ามีไฟไหม้ขึ้นเค้าจะซูมกล้องไปแล้วตามติดสถานการณ์แบบ live เลย มายก้อดดดดดด

ในส่วนของ Ambulance นั้น เค้าจะมีเจ้าหน้าที่อย่างน้อย 3 คน ซึ่ง 2 คนเป็นเจ้าหน้าที่ธรรมดา และ 1 ในนั้นจะต้องเป็น paramedic ซึ่งผ่านหลักสูตร ELT หรือ Emergency Lifesaving Treatment สิ่งที่สำคัญคือ เมื่อ paramedic ออกไปที่ scene และเจอคนไข้แล้ว จะต้องนำส่งรพ. ทุกราย! ไม่ว่าจะอาการเบาก็ตาม ไม่สามารถปฏิเสธผู้ป่วยได้จ้าา และจนท paramedic ต้องโทรประสานงานรพ. ใกล้เคียงก่อนนำส่งด้วยจ้ะ ดังนั้นถ้ารพ. ยุ่ง เขามีสิทธิปฏิเสธรับผู้ป่วยได้จ้า paramedic ก็โทรวนไป (ซึ่งตอนนี้เค้าพัฒนา application มือถือที่บอกสถานะว่า รพ นี้ยุ่งหรือไม่ยุ่ง มีรพ ใกล้เคียงกี่แห่ง มีศักยภาพให้ rtpa ไหม ประมาณนี้) 

ถามว่า paramedic ทำอะไรได้บ้าง? คือน้อยกว่าไทยมากจ้าาาา กล่าวคือ ทำได้น้อยมากกกก เอางี้ บนรถมีอยู่ 4 อย่างคือ เครื่องเจาะ dtx, 50%glucose 50 ml, adrenaline 1mg/1ml, ringer lactate soution 500 ml แค่นี้จ้ะ... ใส่ ETT ได้เฉพาะเคส cardiac arrest เท่านั้น ถ้าเหนื่อยมากก็บีบ bag วนไปจ้ะ defib ได้ภายใต้คำสั่ง ส่วนเคส symptomatic hypoglycemia ให้ glucose ได้ก็ต่อเมื่อ dtx <50 และให้ RLS for kvo เท่านั้น ไม่มี dextrose solution จ้ะ ไม่มี online/offline communication แบบที่ไทยนะ ถ้าเคส arrest ห้ามแทงดำ ต้องนำส่ง รพ เท่านั้น

อ้อ ที่แปลกมากกกกอีกข้อคือ... โรงพยาบาลไม่มี Ambulance นะ 555 ถ้าจะรีเฟอคนไข้จะต้องติดต่อสถานีดับเพลิงเท่านั้น 

Comments

Popular posts from this blog

รีวิว CU-TEP ปี 2018

รีวิว CU-TEP ฉบับ 2018 - CU-TEP มีข้อสอบ 3 ชุดทั้งหมด คือ Listening 30 ข้อ 30 นาที, Reading 60 ข้อ 70 นาที และ Writing 30 ข้อ 30 นาที สอบตั้งแต่ 8.30 - 11.30 พอหมดเวลา จะทำการเปลี่ยนชุดข้อสอบทันที ดังนั้นหากทำไม่ทัน ก็คือพลาดข้อเหล่านั้นไปเลย เวลาจะให้มากระชั้นมากกกกก ต้องรีบคิด รีบตอบ ! - กติกาการเข้าห้องสอบเหมือนเดิม คือ ชุดสุภาพมาสถานที่ราชการ คอปก (ห้ามเสื้อยืด) กระโปรงคลุมหัวเข่า กางเกงคลุมข้อเท้า (ห้ามกางเกงสี่หรือห้าส่วน) รองเท้ารัดส้นและไม่เห็นนิ้วเท้า (ห้ามรองเท้าที่เป็นพลาสติกสานกันแบบ crog) หากทำผิดกฏ ผู้เข้าสอบจะไม่อนุญาตให้เข้าห้องสอบโดยเด็ดขาด เอาแต่บัตรประชาชนเข้าห้องสอบ ไม่ต้องเอาดินสอปากกามา และไม่อนุญาตให้เข้าห้องน้ำระหว่างการสอบ อ้อ ตรวจสอบชื่อและนามสกุลให้ตรงตามในบัตร มิฉะนั้นจะไม่ได้เข้าห้องสอบนะ - หนังสือที่แนะนำมี 2 เล่ม เพราะซื้อแค่นี้ - เล่ม CU-TEP เตรียมสอบ สีชมพู ของ TGRE ราคา 440 บาท ซื้อมาตั้งแต่ 3 ปีก่อน เนื้อหาเหมือนเดิม ข้อดีคือมีการย่อยประเด็นในแต่ละข้อสอบให้ เช่น บท reading จะแบ่งออกเป็น main topic, inference, matching, ordering, pictorial เป็นต้น มี C

Lactic Acidosis

Lactic Acidosis  - Lactic Aciosis เกิดขึ้นจาก imbalance of lactate production สร้างเยอะ vs utilization ใช้น้อย - Lactate เป็นผลิตผลจาก anaerobic respitation ในการที่ร่างกายจะสร้าง ATP มาใช้เป็นพลังงาน ในกระบวนการสร้าง lactate จะมีสารตั้งต้นคือ pyruvate + NADH ซึ่งจะใช้ enzyme Lactate dehydrogenase (LDH) เพื่อเปลี่ยน pyruvate ไปเป็น lactate + NAD ดังนั้นหากว่ามี pyruvate/NADH เยอะจนเกินไป ก็ทำให้ lactate ถูกสร้างมากขึ้นได้เช่นกัน ต่อจากนั้น ร่างกายจะสามารถใช้ lactate ไปเป็นพลังงานได้ โดยการเปลี่ยน lactate ไปเป็น acetyl-CoA โดยใช้เอนไซม์ pyruvate dehydrogenase (PDH) [ซึ่ง PDH มี thiamine เป็น co-enzyme ดังนั้นเราจะเห็นว่า ในคนที่มี thiamine deficiency ก็จะเกิด lactic acidosis ได้เช่นกัน] ประเภทของ Lactate  - มี 2 ประเภทหลัก แบ่งตาม Cohen & Wood Classification 1. Type A : Inadequate Tissue O2 Delivery เป็น lactic acidosis ที่พบบ่อยสุด เกิดจาก 3 ส่วนคือ         1. Anaerobic Muscular Activity เช่นการชักทำให้เกิด muscular hyperactivity + hypoxia ได้      

Doctor Heli ของโอซาก้า ญี่ปุ่น

Osaka-HEMS / Doctor Heli เริ่มปฏิบัติการตั้งแต่ มกราคม 2008 มีทั้งหมด 52 HEMS ในญี่ปุ่น โดยมีเป้าหมายอยู่ 3 ข้อคือ 1) Advanced Life Support in the field เอาหมอไปรักษาที่ scene 2) Transport to medical faculty 3) Disaster Response - เฮลิคอปเตอร์สามารถบินด้วยความเร็ว 200 km/hr ดังนั้นสามารถบินไปเกียวโตภายใน 10-15 นาที ออกรับผู้ป่วยประมาณ 150 ราย ต่อเดือนและปฏิบัติการตั้งแต่ 8.30 จนพระอาทิตย์ตกดินเท่านั้น โดยมีหมอ 1 คน พยาบาล 1 คน  - วิธีการ activate team HEMS คือผู้ป่วยโทร 119 (เหมือน 1669) แต่จะไปติดที่สถานีดับเพลิง แล้ว เจ้าหน้าที่ดับเพลิงจะไปที่ scene เพื่อประเมิน ถ้าประเมินแล้วดูดีก็นำส่งโดยรถ ambulance ได้ แต่ถ้าอาการไม่ดี ก็จะติดต่อขอ Doctor Heli โดยทันที โดย activation time เอาที่น้อยกว่า 5 นาที เขาจะมีจุด landing ทั่วโอซาก้าประมาณ 680 จุดเตรียมไว้ก่อน - ค่าใช้จ่ายของ Doctor Heli คือฟรีจ้าาา (เหมือนค่า ambulance) แต่ค่ารักษาที่โรงพยาบาลผู้ป่วยต้องชำระเอง ค่าใช้จ่ายในการวางระบบ HEMS ตกอยู่ที่ 210 ล้านเยนต่อ 1 service ต่อ 1 ปี