Skip to main content

Posts

Showing posts from March, 2019

รีวิว CU-TEP ปี 2018

รีวิว CU-TEP ฉบับ 2018 - CU-TEP มีข้อสอบ 3 ชุดทั้งหมด คือ Listening 30 ข้อ 30 นาที, Reading 60 ข้อ 70 นาที และ Writing 30 ข้อ 30 นาที สอบตั้งแต่ 8.30 - 11.30 พอหมดเวลา จะทำการเปลี่ยนชุดข้อสอบทันที ดังนั้นหากทำไม่ทัน ก็คือพลาดข้อเหล่านั้นไปเลย เวลาจะให้มากระชั้นมากกกกก ต้องรีบคิด รีบตอบ ! - กติกาการเข้าห้องสอบเหมือนเดิม คือ ชุดสุภาพมาสถานที่ราชการ คอปก (ห้ามเสื้อยืด) กระโปรงคลุมหัวเข่า กางเกงคลุมข้อเท้า (ห้ามกางเกงสี่หรือห้าส่วน) รองเท้ารัดส้นและไม่เห็นนิ้วเท้า (ห้ามรองเท้าที่เป็นพลาสติกสานกันแบบ crog) หากทำผิดกฏ ผู้เข้าสอบจะไม่อนุญาตให้เข้าห้องสอบโดยเด็ดขาด เอาแต่บัตรประชาชนเข้าห้องสอบ ไม่ต้องเอาดินสอปากกามา และไม่อนุญาตให้เข้าห้องน้ำระหว่างการสอบ อ้อ ตรวจสอบชื่อและนามสกุลให้ตรงตามในบัตร มิฉะนั้นจะไม่ได้เข้าห้องสอบนะ - หนังสือที่แนะนำมี 2 เล่ม เพราะซื้อแค่นี้ - เล่ม CU-TEP เตรียมสอบ สีชมพู ของ TGRE ราคา 440 บาท ซื้อมาตั้งแต่ 3 ปีก่อน เนื้อหาเหมือนเดิม ข้อดีคือมีการย่อยประเด็นในแต่ละข้อสอบให้ เช่น บท reading จะแบ่งออกเป็น main topic, inference, matching, ordering, pictorial เป็นต้น มี C

การเดินทางจาก Kansai Airport ไป Osaka University Hospital

🍙 รีวิว การเดินทางไป Osaka University Hospital 🍙 - โดยรีวิวนี้จะเริ่มออกเดินทางจาก Kansai International Airport ไปยัง Osaka University Hospital โดยใช้รถไฟล้วน หมดเงินไป 2560 เยน หรือ 740 บาท และใช้เวลาทั้งหมด 76 นาที++ จ้ะ - อันดับแรก ซื้อตั๋ว JR West Haruka จาก Kansai Airport ไปลง Tennoji แนะนำให้ซื้อตั๋วโปรโมชั่น "ICOCA & HARUKA Airport Express" แบบ one-way ราคา 3100 เยน (ค่าบัตร ICOCA 1500 เยน และ ตั๋ว Haruka 1600 เยน)ใช้เวลาเดินทาง 30 นาที เราเลือก Tennoji เพราะไฟลท์ลง 6 โมงเช้า กะว่าจะไปเดินเล่นที่ Tennoji ก่อน เพราะหอพักเปิดให้เข้าตอนบ่าย 3 เป็นต้นไป (หรืออาจจะลงที่ Shin-Osaka ก็ได้ เพราะไปทางเดียวกันอยู่ดี)อย่าลืมว่าต้องซื้อตั๋วออนไลน์ก่อนเดินทางอย่างน้อย 2 วันนะจร๊ะ รายละเอียดตามนี้  http://www.westjr.co.jp/global/en/ticket/icoca-haruka/ - จากนั้น นั่งรถไฟขบวนสีแดง Midosuji จากสถานี Tennoji ไปสุดสาย Senri Chuo ราคา 460 เยน ใช้เวลาเดินทาง 36 นาที  - แล้วเปลี่ยนสถานี ไปเป็น สถานี Osaka monorail จากสถานี Senri Chuo ไปสถานี Bampaku-Kinen-Koen (สถานีปลายทางคือ Kadoma

ระบบ EMS ของประเทศญี่ปุ่น

รีวิวระบบ EMS ของญี่ปุ่น ระบบ Emergency Medical Service ของญี่ปุ่นแตกต่างจากไทยอย่างสิ้นเชิงงงงงง แต่มันดีย์ มันเป็นระบบที่เลิศสำหรับหมอมากกก ก่อนอื่นต้องเกริ่นก่อนว่า โรงพยาบาลส่วนใหญ่ที่ญี่ปุ่นเปิดเฉพาะจันทร์ถึงศุกร์ในเวลาราชการเท่านั้น ภาควิชาที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมงคือER เท่านั้นจ้า ส่วนภาคอื่นปิดหมด เคยไปรพ. ผิดวัน คือเป็นวันหยุดราชการ มันก็คือรพ. ร้างดีๆ นี่เอง ไม่มีคนเลยยยยย  ทีนี้เวลาคนญี่ปุ่นป่วยจะทำไง? ก็โทร 119 เบอร์เดียว ซึ่งมันจะไปติดที่สำนักงานสถานีดับเพลิงกลางในแต่ละเมือง เพราะระบบที่นี่คือ รวมงานดับเพลิงกับ paramedic เป็นหน่วยงานเดียวกัน  สำหรับ Osaka Munipical Fire Department จะดูแลประชากร 2.7 ล้านคน ในพื้นที่ 225 ตารางกิโลเมตร มีรถพยาบาลทั้งหมด 63 คัน และมี ambulance personnel 630 คน ปฏิบัติงาน 230,000 mission ต่อปี เมื่อมีสายเข้ามา ก็จะมีระบบ call taker 3 ระดับ คือ  1. Screening โดยแยก medical กับ non-medical reason ออกจากกัน เช่นบางคนแค่อยากรู้ว่า รพ ไหนเปิดในวันหยุดบ้าง เจ้าหน้าที่ก็จะให้ข้อมูลไป เค้าบอกว่า รับโทรศัพท์ 900-1200 สายต่อวันจ้า  2. Nurse Screening ให้พยา

Department of Traumatology and Acute Critical Medicine ของ Osaka University Hospital

รีวิว Department of Traumatology and Acute Critical Medicine, Osaka University Hospital Version 2 - สำหรับระบบประกันสุขภาพที่ญี่ปุ่น ประชากรทุกคนต้องจ่ายค่ารักษาเป็น % ของรายได้คล้ายภาษี เมื่อป่วยก็จะสามารถเบิกได้ฟรี 70% ส่วนอีก 30% เป็น co-pay ซึ่งทุกคนในญี่ปุ่นต้องจ่าย ดังนั้นหมอจึงทำทุกอย่างเต็มที่จัดเต็มหมด คนไข้ถูกแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละโรงพยาบาลว่าจะสามารถรับคนไข้ประเภทใดได้บ้าง โดย osaka university hospital รับแต่คนไข้ระดับ 3 (หนักสุด)ที่เดินทางมาด้วยรถพยาบาลหรือเฮลิคอปเตอร์เท่านั้น - ถ้าไม่หนักมาก เช่นระดับ 1 หรือ 2 ชาวญี่ปุ่นมีทางเลือก 2 ทางคือ 1. ไปโรงพยาบาล แต่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่ม ซึ่งเงินในส่วนนี้จะเบิกไม่ได้ 2. ไปคลินิกแทน - เคสมาใหม่ก็รับแต่คนที่หนักคู่ควรอีอาเท่านั้น และได้รับการ triage โดย paramedic เช่น arrest, septic shock, stroke, stemi, severe trauma, inhalation injury เป็นต้น - และแผนกนี้จะไม่ consult ภาคอื่น คือเก็บคนไข้ไว้ดูเองจน discharge เพราะในภาควิชามี general surgeon, orthopedist, neurosurgeon ในวอร์ดดูแลคนไข้ 17 เตียง เคส tube 8-10 เตี

Kasugaoka House หอพักของ Osaka University Hospital

รีวิวหอพัก Kasugaoka House ค่าห้องประมาณ 3 หมื่นกว่าบาทต่อเดือน เลือกเป็นห้องเดี่ยว เตียงขนาดใหญ่มากกก มีตู้เย็น ไมโครเวฟ เตาอบ หม้อหุงข้าว ที่ต้มนำ้ร้อน เตา 2 ที่ดูดควัน หม้อ 3 กระทะ 1 จานชาม 5 มีดทำครัว 2 ตะเกียบช้อนส้อม เตารีด ที่รีดผ้า ทีวี เครื่องเล่นวีดีโอ โต๊ะทำงานอีกก ส่วนห้องน้ำเป็นอ่าง มีเครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องซักผ้า เปิดประตูออกไปเป็นระเบียง มีสวนอยู่ด้านนอก ตลอดทางเดินเข้าหอมีอุปกรณ์ดับเพลิงห่างกันทุก 3 ห้อง ชีวิตมีความปลอดภัยสูงมาก ถือว่าครบครันทุกอย่าง อย่างกับอยู่โรงแรม หาที่ไหนดีเท่านี้ไม่มีอีกแล้ววววววว (หอมีเครื่อง AED ด้วยจ้าา) ตรงหอมี family mart กับ lawson ด้วย เดินไปแค่ 3-5 นาทีเท่านั้น ชีวิตไม่อดอยาก มีอาหารตลอด 24 ชั่วโมง 

Doctor Heli ของโอซาก้า ญี่ปุ่น

Osaka-HEMS / Doctor Heli เริ่มปฏิบัติการตั้งแต่ มกราคม 2008 มีทั้งหมด 52 HEMS ในญี่ปุ่น โดยมีเป้าหมายอยู่ 3 ข้อคือ 1) Advanced Life Support in the field เอาหมอไปรักษาที่ scene 2) Transport to medical faculty 3) Disaster Response - เฮลิคอปเตอร์สามารถบินด้วยความเร็ว 200 km/hr ดังนั้นสามารถบินไปเกียวโตภายใน 10-15 นาที ออกรับผู้ป่วยประมาณ 150 ราย ต่อเดือนและปฏิบัติการตั้งแต่ 8.30 จนพระอาทิตย์ตกดินเท่านั้น โดยมีหมอ 1 คน พยาบาล 1 คน  - วิธีการ activate team HEMS คือผู้ป่วยโทร 119 (เหมือน 1669) แต่จะไปติดที่สถานีดับเพลิง แล้ว เจ้าหน้าที่ดับเพลิงจะไปที่ scene เพื่อประเมิน ถ้าประเมินแล้วดูดีก็นำส่งโดยรถ ambulance ได้ แต่ถ้าอาการไม่ดี ก็จะติดต่อขอ Doctor Heli โดยทันที โดย activation time เอาที่น้อยกว่า 5 นาที เขาจะมีจุด landing ทั่วโอซาก้าประมาณ 680 จุดเตรียมไว้ก่อน - ค่าใช้จ่ายของ Doctor Heli คือฟรีจ้าาา (เหมือนค่า ambulance) แต่ค่ารักษาที่โรงพยาบาลผู้ป่วยต้องชำระเอง ค่าใช้จ่ายในการวางระบบ HEMS ตกอยู่ที่ 210 ล้านเยนต่อ 1 service ต่อ 1 ปี

Lactic Acidosis

Lactic Acidosis  - Lactic Aciosis เกิดขึ้นจาก imbalance of lactate production สร้างเยอะ vs utilization ใช้น้อย - Lactate เป็นผลิตผลจาก anaerobic respitation ในการที่ร่างกายจะสร้าง ATP มาใช้เป็นพลังงาน ในกระบวนการสร้าง lactate จะมีสารตั้งต้นคือ pyruvate + NADH ซึ่งจะใช้ enzyme Lactate dehydrogenase (LDH) เพื่อเปลี่ยน pyruvate ไปเป็น lactate + NAD ดังนั้นหากว่ามี pyruvate/NADH เยอะจนเกินไป ก็ทำให้ lactate ถูกสร้างมากขึ้นได้เช่นกัน ต่อจากนั้น ร่างกายจะสามารถใช้ lactate ไปเป็นพลังงานได้ โดยการเปลี่ยน lactate ไปเป็น acetyl-CoA โดยใช้เอนไซม์ pyruvate dehydrogenase (PDH) [ซึ่ง PDH มี thiamine เป็น co-enzyme ดังนั้นเราจะเห็นว่า ในคนที่มี thiamine deficiency ก็จะเกิด lactic acidosis ได้เช่นกัน] ประเภทของ Lactate  - มี 2 ประเภทหลัก แบ่งตาม Cohen & Wood Classification 1. Type A : Inadequate Tissue O2 Delivery เป็น lactic acidosis ที่พบบ่อยสุด เกิดจาก 3 ส่วนคือ         1. Anaerobic Muscular Activity เช่นการชักทำให้เกิด muscular hyperactivity + hypoxia ได้